จิตรกรรมไทย
(Thai Painting)
จิตรกรรมไทย (Thai Painting) หมายถึง
ภาพเขียนที่มีลักษณะเป็นแบบอย่างของไทย
ที่แตกต่างจากศิลปะของชนชาติอื่นอย่างชัดเจน
ถึงแม้จะมีอิทธิพลศิลปะของชาติอื่นอยู่บ้าง แต่ก็สามารถ ดัดแปลง คลี่คลาย ตัดทอน
หรือเพิ่มเติมจนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของ ตนเองได้อย่างสวยงาม ลงตัว น่าภาคภูมิใจและมีวิวัฒนาการทางด้านด้านรูปแบบ
และวิธีการมาตลอดจนถึงปัจจุบัน ซึ่งสามารถพัฒนาต่อไปอีกในอนาคต
ลายไทย หมายถึง เป็นส่วนประกอบของภาพเขียนไทยใช้ตกแต่งอาคาร
สิ่งของ เครื่องใช้ เครื่องประดับ ฯลฯ เป็นลวดลายที่มีชื่อเรียกต่าง ๆ
กันซึ่งนำเอารูปร่างจาก ธรรมชาติมาประกอบ เช่น ลายกระหนก ลายกระจัง ลายประจำยาม
ลายเครือเถา เป็นต้น หรือเป็นรูปที่มาจากความเชื่อและคตินิยม เช่น รูปคน รูปเทวดา
รูปสัตว์ รูปยักษ์ เป็นต้น
จิตรกรรมไทย เป็นวิจิตรศิลป์อย่างหนึ่ง ซึ่งส่งผลสะท้อนให้เห็นวัฒนธรรมอันดี
งามของชาติ มีคุณค่าทางศิลปะและเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าเรื่องที่เกี่ยวกับ
ศาสนา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ชีวิตความเป็นอยู่ วัฒนธรรมการแต่งกาย
ตลอดจนการแสดงการเล่มพื้นเมืองต่าง ๆ ของแต่ละยุคสมัยและสาระอื่น ๆ
ที่ประกอบกันเป็นภาพจิตรกรรมไทย งานจิตรกรรมให้ความรู้สึกในความงามอันบริสุทธิ์น่าชื่นชม
เสริมสร้างสุนทรียภาพขึ้นในจิตใจมวลมนุษยชาติได้โดยทั่วไป วิวัฒนาการของงาน
จิตรกรรมไทยแบ่งออกตามลักษณะรูปแบบทางศิลปกรรม ที่ปรากฏในปัจจุบันมีอยู่ 2 แบบ คือ จิตรกรรมไทยแบบประเพณี
และจิตรกรรมไทยแบบร่วมสมัย
จิตรกรรมไทยแบบประเพณี
จิตรกรรมไทยแบบประเพณี (Thai Traditional Painting) เป็นศิลปะที่มีความประณีตสวยงามแสดงความรู้สึกชีวิติจิตใจและความเป็นไทยที่มีความอ่อนโยน
นิยมเขียนบนฝาผนังภายในอาคารที่เกี่ยวกับพุทธศาสนาและอาคารที่เกี่ยวกับบุคคลชั้นสูง
เช่น โบสถ์ วิหาร พระที่นั่ง วัง
โดยเขียนด้วยสีฝุ่นตามกรรมวิธีของช่างเขียนไทยแต่โบราณ
เนื้อหาที่เขียนมักเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติ ทศชาติชาดก ไตรภูมิ
วรรณคดี ชีวิตไทย และพงศาวดารต่าง ๆ ส่วนใหญ่นิยมเขียนประดับผนังพระอุโบสถ
วิหารอันเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ประกอบพิธีทางศาสนา
ลักษณะจิตรกรรมไทยแบบประเพณีเป็นศิลปะ แบบอุดมคติ (Idealistic)ผนวกเข้ากับเรื่องราวที่กึ่งลึกลับมหัศจรรย์
เป็นภาพที่ระบายสีแบนเรียบ ด้วยสีสดใส และมีการตัดเส้นเป็นภาพ 2 มิติ ให้ความรู้สึกเพียงด้านกว้างและยาว ไม่มีความลึก
ไม่มีการใช้แสงและเงามาตอน ๆ ตามผนังช่องหน้าต่างรอบโบสถ์ วิหาร และผนังด้านหน้า
และหลังพระประธานประกอบ จิตรกรรมไทยแบบประเพณีมีลักษณะพิเศษในการจัดวางภาพแบบเล่าเรื่องเป็น
รูปแบบลักษณะตัวภาพในจิตรกรรมไทย
จิตรกรได้สร้างสรรค์ออกแบบไว้เป็นรูปแบบอุดมคติแสดงออกทางความคิดให้สัมพันธ์กับเนื้อเรื่องและความสำคัญของภาพ
เช่น รูปเทวดา นางฟ้า กษัตริย์ นางพญา นางรำ มีลักษณะเด่นงามสง่าด้วยลีลาชดช้อย
แสดงอารมณ์ความรู้สึกปีติยินดี หรือเศร้าโศกเสียใจด้วยอากัปกิริยาท่าทาง
ถ้าเป็นรูปยักษ์ มาร ก็แสดงออกด้วยท่าทางที่บึกบึน แข็งขัน
ส่วนพวกวานรแสดงความลิงโลด คล่องแคล่วว่องไวด้วยลีลาท่วงท่าและหน้าตา
สำหรับพวกชาวบ้านธรรมดาสามัญก็จะเน้นความตลกขบขัน
สนุกสนานร่าเริงหรือเศร้าเสียใจออกทางใบหน้า
ส่วนช้างม้าเหล่าสัตว์ทั้งหลายก็มีรูปแบบแสดงชีวิตเป็นธรรมชาติ
จิตรกรรมไทยแบบร่วมสมัย
จิตรกรรมไทยแบบร่วมสมัย (Thai Contempolary Painting) เป็นศิลปะพัฒนาไปตามสภาพแวดล้อม
ความเปลี่ยนแปลงของชีวิต ความเป็นอยู่ ความรู้สึกนึกคิด และความนิยมในสังคม
สะท้อนให้เห็นถึงเอกลักษณ์ใหม่ของวัฒนธรรมไทยอีกรูปแบบหนึ่งอย่างมีคุณค่าตามความนิยมของศิลปินแต่ละคน
พระเจ้าสัญชัยเดินทางไปรับพระเวชสันดรกลับเมือง
(งานจิตรกรรมไทยแบบร่วมสมัย)
เฉลิมชัย
โฆษิตพิพัฒน์. อิ่มเอิบในธรรม (Overwhelmed With Dhamma)
ชะลูด นิ่มเสมอ. โพธิบัลลังก์
Tempera, acrylic and ink on sa sheet,
116 x 107 ซม.
ชะลูด นิ่มเสมอ. ปลูก. สีฝุ่นและสีอะคริลิคบนกระดาษสา, 81x59 ซม.
ความสำคัญของจิตรกรรมไทย
จิตรกรรมไทย เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลแบบสหวิทยาการ
ถือได้ว่าเป็นแหล่งขุมความรู้โดยเฉพาะเรื่องราวจากอดีตทีสำคัญยิ่ง
แสดงให้เห็นถึงความเป็นชนชาติที่มีอารยธรรมอันเก่าแก่ ยาวนาน
ประโยชน์ของงานจิตรกรรมไทย นอกจากจะให้ความสำคัญในเรื่องคุณค่าของงานศิลปะแล้ว
ยังมีคุณค่าในด้านอื่น ๆ อีกมาก ดังนี้
1. คุณค่าในทางประวัติศาสตร์
2. คุณค่าในทางศิลปะ
3. คุณค่าในเรื่องการแสดงเชื้อชาติ
4. คุณค่าในทางสถาปัตยกรรม
5. คุณค่าในเชิงสังคมวิทยา
6. คุณค่าในด้านโบราณคดี
7. คุณค่าในการศึกษาประเพณีและวัฒนธรรม
8. คุณค่าในการศึกษาเรื่องทัศนคติค่านิยม
9. คุณค่าในการศึกษานิเวศวิทยา
10. คุณค่าในการศึกษาเรื่องราวทางพุทธศาสนา
11. คุณค่าในทางเศรษฐกิจการท่องเที่ยว