ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศิลปะไทย
ศิลปะไทย
เป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย ซึ่งคนไทยทั้งชาติต่างภาคภูมิใจอย่างยิ่ง
ความงดงามที่สืบทอดอันยาวนานมาตั้งแต่อดีต บ่งบอกถึงวัฒนธรรมที่เกิดขึ้น
โดยมีพัฒนาการบนพื้นฐานของความเป็นไทย ลักษณะนิสัยที่อ่อนหวาน ละมุนละไม
รักสวยรักงาม ที่มีมานานของสังคมไทย ทำให้ศิลปะไทยมีความประณีตอ่อนหวาน
เป็นความงามอย่างวิจิตรอลังการที่ทุกคนได้เห็นต้องตื่นตา ตื่นใจ อย่างบอกไม่ถูก ลักษณะความงามนี้จึงได้กลายเป็นความรู้สึกทางสุนทรียภาพโดยเฉพาะคนไทย
ศิลปะไทย คือ ศิลปะที่ได้รับอิทธิพลจากธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในสังคมไทย
ซึ่งมีลักษณะเด่น คือ ความงามอย่างนิ่มนวลมีความละเอียดปราณีต
ซึ่งแสดงให้เห็นถึงลักษณะนิสัยและจิตใจของคนไทยที่ได้สอดแทรกไว้ในผลงานที่สร้างสรรค์ขึ้น
โดยเฉพาะศิลปกรรมที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติของไทย
อาจกล่าวได้ว่าศิลปะไทยสร้างขึ้นเพื่อส่งเสริมพุทธศาสนา เป็นการเชื่อมโยงและโน้มน้าวจิตใจของประชาชนให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธาในพุทธศาสนาเชื่อมโยงและโน้มน้าวจิตใจของประชาชนให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธาในพุทธศาสนา
เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์, เสด็จจากดาวดึงส์เปิดสามโลก
(Lord Buddha Descending from Heavens)
(Lord Buddha Descending from Heavens)
ลักษณะของศิลปะไทย
ภาพไทย
หรือ จิตรกรรมไทย จัดเป็นภาพเล่าเรื่องที่เขียนขึ้นด้วยความคิดจินตนาการของคนไทย
มีลักษณะตามอุดมคติของกระบวนงานช่างไทย คือ
1. เขียนสีแบน
ไม่คำนึงถึงแสงและเงา นิยมตัดเส้นให้เห็นชัดเจน และเส้นที่ใช้
จะแสดงความรู้สึกเคลื่อนไหวนุ่มนวล
2. เขียนตัวพระ-นาง เป็นแบบละคร มีลีลา ท่าทางเหมือนกัน ผิดแผกแตกต่าง
กันด้วยสีร่างกายและเครื่องประดับ
3.
เขียนแบบตานกมอง หรือเป็นภาพต่ำกว่าสายตา โดยมุมมองจากที่สูงลงสู่ล่าง จะเห็นเป็นรูปเรื่องราวได้ตลอดภาพ
4. เขียนติดต่อกันเป็นตอน ๆ สามารถดูจากซ้ายไปขวาหรือล่างและบนได้ทั่วภาพ
โดยขั้นตอนภาพด้วยโขดหิน ต้นไม้ กำแพงเมือง เป็นต้น
5. เขียนประดับตกแต่งด้วยลวดลายไทย มีสีทองสร้างภาพให้เด่นเกิดบรรยากาศสุขสว่างและคุณค่ามากขึ้น
นอกจากนี้ ภาพลายไทย เป็นลายที่ประดิษฐ์ขึ้น
ได้รับแรงบันดาลใจมาจากธรรมชาติ โดยดัดแปลงธรรมชาติให้เป็นลวดลายใหม่อย่างสวยงาม
เช่น ตาอ้อย ก้ามปู เปลวไฟ รวงข้าว และดอกบัว
No comments:
Post a Comment