Wednesday, March 5, 2014

จิตรกรรมไทย

จิตรกรรมไทย (Thai Painting)
 จิตรกรรมไทย (Thai Painting) หมายถึง ภาพเขียนที่มีลักษณะเป็นแบบอย่างของไทย ที่แตกต่างจากศิลปะของชนชาติอื่นอย่างชัดเจน ถึงแม้จะมีอิทธิพลศิลปะของชาติอื่นอยู่บ้าง แต่ก็สามารถ ดัดแปลง คลี่คลาย ตัดทอน หรือเพิ่มเติมจนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของ ตนเองได้อย่างสวยงาม ลงตัว น่าภาคภูมิใจและมีวิวัฒนาการทางด้านด้านรูปแบบ และวิธีการมาตลอดจนถึงปัจจุบัน ซึ่งสามารถพัฒนาต่อไปอีกในอนาคต

ลายไทย  หมายถึง  เป็นส่วนประกอบของภาพเขียนไทยใช้ตกแต่งอาคาร สิ่งของ เครื่องใช้ เครื่องประดับ ฯลฯ  เป็นลวดลายที่มีชื่อเรียกต่าง ๆ กันซึ่งนำเอารูปร่างจาก ธรรมชาติมาประกอบ เช่น ลายกระหนก ลายกระจัง ลายประจำยาม ลายเครือเถา เป็นต้น หรือเป็นรูปที่มาจากความเชื่อและคตินิยม เช่น รูปคน รูปเทวดา รูปสัตว์ รูปยักษ์ เป็นต้น



จิตรกรรมไทย เป็นวิจิตรศิลป์อย่างหนึ่ง ซึ่งส่งผลสะท้อนให้เห็นวัฒนธรรมอันดี งามของชาติ มีคุณค่าทางศิลปะและเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าเรื่องที่เกี่ยวกับ ศาสนา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ชีวิตความเป็นอยู่ วัฒนธรรมการแต่งกาย ตลอดจนการแสดงการเล่มพื้นเมืองต่าง ๆ ของแต่ละยุคสมัยและสาระอื่น ๆ ที่ประกอบกันเป็นภาพจิตรกรรมไทย งานจิตรกรรมให้ความรู้สึกในความงามอันบริสุทธิ์น่าชื่นชม เสริมสร้างสุนทรียภาพขึ้นในจิตใจมวลมนุษยชาติได้โดยทั่วไป วิวัฒนาการของงาน จิตรกรรมไทยแบ่งออกตามลักษณะรูปแบบทางศิลปกรรม ที่ปรากฏในปัจจุบันมีอยู่ 2 แบบ คือ จิตรกรรมไทยแบบประเพณี และจิตรกรรมไทยแบบร่วมสมัย


จิตรกรรมไทยแบบประเพณี

จิตรกรรมไทยแบบประเพณี (Thai Traditional Painting)  เป็นศิลปะที่มีความประณีตสวยงามแสดงความรู้สึกชีวิติจิตใจและความเป็นไทยที่มีความอ่อนโยน   นิยมเขียนบนฝาผนังภายในอาคารที่เกี่ยวกับพุทธศาสนาและอาคารที่เกี่ยวกับบุคคลชั้นสูง เช่น โบสถ์ วิหาร พระที่นั่ง วัง  โดยเขียนด้วยสีฝุ่นตามกรรมวิธีของช่างเขียนไทยแต่โบราณ  เนื้อหาที่เขียนมักเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติ ทศชาติชาดก ไตรภูมิ วรรณคดี ชีวิตไทย และพงศาวดารต่าง ๆ  ส่วนใหญ่นิยมเขียนประดับผนังพระอุโบสถ วิหารอันเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ประกอบพิธีทางศาสนา



ลักษณะจิตรกรรมไทยแบบประเพณีเป็นศิลปะ แบบอุดมคติ (Idealistic)ผนวกเข้ากับเรื่องราวที่กึ่งลึกลับมหัศจรรย์  เป็นภาพที่ระบายสีแบนเรียบ ด้วยสีสดใส และมีการตัดเส้นเป็นภาพ 2 มิติ ให้ความรู้สึกเพียงด้านกว้างและยาว ไม่มีความลึก ไม่มีการใช้แสงและเงามาตอน ๆ ตามผนังช่องหน้าต่างรอบโบสถ์ วิหาร และผนังด้านหน้า และหลังพระประธานประกอบ  จิตรกรรมไทยแบบประเพณีมีลักษณะพิเศษในการจัดวางภาพแบบเล่าเรื่องเป็น




 รูปแบบลักษณะตัวภาพในจิตรกรรมไทย จิตรกรได้สร้างสรรค์ออกแบบไว้เป็นรูปแบบอุดมคติแสดงออกทางความคิดให้สัมพันธ์กับเนื้อเรื่องและความสำคัญของภาพ เช่น รูปเทวดา นางฟ้า กษัตริย์ นางพญา นางรำ มีลักษณะเด่นงามสง่าด้วยลีลาชดช้อย แสดงอารมณ์ความรู้สึกปีติยินดี หรือเศร้าโศกเสียใจด้วยอากัปกิริยาท่าทาง  ถ้าเป็นรูปยักษ์ มาร ก็แสดงออกด้วยท่าทางที่บึกบึน แข็งขัน ส่วนพวกวานรแสดงความลิงโลด คล่องแคล่วว่องไวด้วยลีลาท่วงท่าและหน้าตา  สำหรับพวกชาวบ้านธรรมดาสามัญก็จะเน้นความตลกขบขัน สนุกสนานร่าเริงหรือเศร้าเสียใจออกทางใบหน้า  ส่วนช้างม้าเหล่าสัตว์ทั้งหลายก็มีรูปแบบแสดงชีวิตเป็นธรรมชาติ




จิตรกรรมไทยแบบร่วมสมัย
จิตรกรรมไทยแบบร่วมสมัย (Thai Contempolary Painting) เป็นศิลปะพัฒนาไปตามสภาพแวดล้อม ความเปลี่ยนแปลงของชีวิต ความเป็นอยู่ ความรู้สึกนึกคิด และความนิยมในสังคม สะท้อนให้เห็นถึงเอกลักษณ์ใหม่ของวัฒนธรรมไทยอีกรูปแบบหนึ่งอย่างมีคุณค่าตามความนิยมของศิลปินแต่ละคน


พระเจ้าสัญชัยเดินทางไปรับพระเวชสันดรกลับเมือง 
                                                 (งานจิตรกรรมไทยแบบร่วมสมัย)



เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์. อิ่มเอิบในธรรม (Overwhelmed With Dhamma)


ชะลูด  นิ่มเสมอ. โพธิบัลลังก์ 
Tempera, acrylic and ink on sa sheet, 116 x 107 ซม.





ชะลูด  นิ่มเสมอ. ปลูก. สีฝุ่นและสีอะคริลิคบนกระดาษสา, 81x59 ซม.


ความสำคัญของจิตรกรรมไทย
จิตรกรรมไทย เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลแบบสหวิทยาการ ถือได้ว่าเป็นแหล่งขุมความรู้โดยเฉพาะเรื่องราวจากอดีตทีสำคัญยิ่ง แสดงให้เห็นถึงความเป็นชนชาติที่มีอารยธรรมอันเก่าแก่ ยาวนาน ประโยชน์ของงานจิตรกรรมไทย นอกจากจะให้ความสำคัญในเรื่องคุณค่าของงานศิลปะแล้ว ยังมีคุณค่าในด้านอื่น ๆ อีกมาก ดังนี้
1.  คุณค่าในทางประวัติศาสตร์ 
2.  คุณค่าในทางศิลปะ 
3.  คุณค่าในเรื่องการแสดงเชื้อชาติ 
4.  คุณค่าในทางสถาปัตยกรรม 
5.  คุณค่าในเชิงสังคมวิทยา 
6.  คุณค่าในด้านโบราณคดี 
7.  คุณค่าในการศึกษาประเพณีและวัฒนธรรม 
8.  คุณค่าในการศึกษาเรื่องทัศนคติค่านิยม 
9.  คุณค่าในการศึกษานิเวศวิทยา 
10.  คุณค่าในการศึกษาเรื่องราวทางพุทธศาสนา 
11.  คุณค่าในทางเศรษฐกิจการท่องเที่ยว




No comments:

Post a Comment