Wednesday, March 5, 2014

สถาปัตยกรรมไทย

สถาปัตยกรรมไทย
สถาปัตยกรรมไทย  หมายถึง  ศิลปะการก่อสร้างของไทย ได้แก่ อาคาร บ้านเรือน โบสถ์ วิหาร วัง สถูป และสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ มีลักษณะแตกต่างกันไปตามภูมิศาสตร์ และคตินิยมสามารถจัดหมวดหมู่ตามลักษณะการใช้งานได้ 2 ประเภท คือ
1.  สถาปัตยกรรมที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย ได้แก่ บ้านเรือน ตำหนัก วัง และพระราชวัง เป็นต้น บ้านหรือเรือนเป็นที่อยู่อาศัยของสามัญชน ธรรมดาทั่วไป ซึ่งมีทั้งเรือนไม้ และเรือนปูน เรือนไม้มีอยู่ 2 ชนิด คือ เรือนเครื่องผูก และ เรือนเครื่องสับ ตำหนัก และวัง เป็นเรือนที่อยู่ของชนชั้นสูง พระราชวงศ์ หรือ ใช้
เรียกที่ประทับชั้นรอง ของพระมหากษัตริย์


2.  สถาปัตยกรรมที่เกี่ยวข้องศาสนา ได้แก่ โบสถ์ วิหาร กุฎิ หอไตร หอระฆังและหอกลองสถูป เจดีย์                                                                                                                        



ประวัติสถาปัตยกรรมไทย
สถาปัตยกรรมไทย มีมานานตั้งแต่ที่คนไทยเริ่มตั้งถิ่นฐาน เป็นเวลาร่วม 4,000 ปี บรรพบุรุษไทยได้พัฒนาและปรับปรุงรูปแบบสถาปัตยกรรมอันเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิต เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ สภาพภูมิประเทศ โดยเพิ่มเติมใส่เอกลักษณ์ความเป็นไทยเข้าไปซึ่งนับเป็นการแสดงออกความสามารถของบรรพบุรุษไทย


พระบรมธาตุไชยา สถาปัตยกรรมยุคศรีวิชัย



                           พระปรางค์สามยอด สถาปัตยกรรมยุคลพบุรี           


พระธาตุช่อแฮ
ลักษณะเป็นเจดีย์รูปแปดเหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง ศิลปะแบบเชียงแสน



โบราณสถานภายในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย



พระที่นั่งอนันตสมาคม สถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์
มีรูปแบบเป็นสถาปัตยกรรมตะวันตก



วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม







No comments:

Post a Comment