Wednesday, March 5, 2014

ประติมากรรมไทย

ประติมากรรมไทย (Thai  Sculpture) 
ประติมากรรมไทย (Thai  Sculpture) หมายถึง  ผลงานศิลปะที่แสดงออกโดยกรรมวิธีการปั้น การแกะสลัก การหล่อ หรือการประกอบเข้าเป็นรูปทรง มิติ  ซึ่งมีแบบอย่างเป็นของไทยโดยเฉพาะ  วัสดุที่ใช้สร้างมักจะเป็น ดิน ปูน หิน อิฐ โลหะ ไม้ งาช้าง เขาสัตว์ กระดูก ฯลฯ  ผลงานประติมากรรมไทยมีทั้งแบบนูนต่ำ นูนสูง และลอยตัว
งานประติมากรรมนูนต่ำ และนูนสูง  มักทำเป็นลวดลายประกอบกับสถาปัตยกรรม เช่น ลวดลายปูนปั้น ลวดลายแกะสลักประดับตามอาคารบ้านเรือนโบสถ์  วิหาร พระราชวัง ฯลฯ

งานประติมากรรมแบบลอยตัว  มักทำเป็พระพุทธรูป เทวรูป รูปเคารพ ตุ๊กตา ภาชนะดินเผา  ตลอดจนเครื่องใช้ต่าง ๆ  ซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปตามสกุลช่างของแต่ละท้องถิ่นหรือแตกต่างกันไปตามคตินิยมในแต่ละยุคสมัย โดยทั่วไปมักศึกษาลักษณะของสกุลช่างที่เป็นรูปแบบของศิลปะสมัยต่าง ๆ ในประเทศไทยจากลักษณะของพระพุทธรูป  เนื่องจากเป็นงานที่มีวิวัฒนาการมาอย่างต่อเนื่องยาวนานจัดสร้างอย่างประณีตบรรจง ลักษณะของประติมากรรมของไทยในสมัยต่าง ๆ สามารถลำดับได้ดังนี้

ประวัติสถาปัตยกรรมไทย
               สถาปัตยกรรมไทย มีมานานตั้งแต่ที่คนไทยเริ่มตั้งถิ่นฐาน เป็นเวลาร่วม 4,000 ปี บรรพบุรุษไทยได้พัฒนาและปรับปรุงรูปแบบสถาปัตยกรรมอันเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิต เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ  สภาพภูมิประเทศ  โดยเพิ่มเติมใส่เอกลักษณ์ความเป็นไทยเข้าไป   ซึ่งนับเป็นการแสดงออกความสามารถของบรรพบุรุษไทย


พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร  สมัยศรีวิชัย


พระพุทธชินราช ศิลปะสมัยสุโขทัย
                       ได้รับการยกย่องว่าเป็นสุดยอดของประติมากรรมไทย



          รูปเทวดาจำหลัก ศิลปะสมัยอยุธยา (บานประตูวัดพระศรีสรรเพชญ)


พระศรีศากยทศพลญาณ ฯ พระประธานพุทธมณฑล
เป็นพระพุทธรูปปางลีลา โดยการผสมผสานความงามแบบสุโขทัย
เข้ากับความเหมือนจริง เกิดเป็นศิลปะการสร้างพระพุทธรูปในสมัยรัตนโกสินทร์


No comments:

Post a Comment