Wednesday, March 5, 2014

สถาปัตยกรรมไทย

สถาปัตยกรรมไทย
สถาปัตยกรรมไทย  หมายถึง  ศิลปะการก่อสร้างของไทย ได้แก่ อาคาร บ้านเรือน โบสถ์ วิหาร วัง สถูป และสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ มีลักษณะแตกต่างกันไปตามภูมิศาสตร์ และคตินิยมสามารถจัดหมวดหมู่ตามลักษณะการใช้งานได้ 2 ประเภท คือ
1.  สถาปัตยกรรมที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย ได้แก่ บ้านเรือน ตำหนัก วัง และพระราชวัง เป็นต้น บ้านหรือเรือนเป็นที่อยู่อาศัยของสามัญชน ธรรมดาทั่วไป ซึ่งมีทั้งเรือนไม้ และเรือนปูน เรือนไม้มีอยู่ 2 ชนิด คือ เรือนเครื่องผูก และ เรือนเครื่องสับ ตำหนัก และวัง เป็นเรือนที่อยู่ของชนชั้นสูง พระราชวงศ์ หรือ ใช้
เรียกที่ประทับชั้นรอง ของพระมหากษัตริย์


2.  สถาปัตยกรรมที่เกี่ยวข้องศาสนา ได้แก่ โบสถ์ วิหาร กุฎิ หอไตร หอระฆังและหอกลองสถูป เจดีย์                                                                                                                        



ประวัติสถาปัตยกรรมไทย
สถาปัตยกรรมไทย มีมานานตั้งแต่ที่คนไทยเริ่มตั้งถิ่นฐาน เป็นเวลาร่วม 4,000 ปี บรรพบุรุษไทยได้พัฒนาและปรับปรุงรูปแบบสถาปัตยกรรมอันเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิต เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ สภาพภูมิประเทศ โดยเพิ่มเติมใส่เอกลักษณ์ความเป็นไทยเข้าไปซึ่งนับเป็นการแสดงออกความสามารถของบรรพบุรุษไทย


พระบรมธาตุไชยา สถาปัตยกรรมยุคศรีวิชัย



                           พระปรางค์สามยอด สถาปัตยกรรมยุคลพบุรี           


พระธาตุช่อแฮ
ลักษณะเป็นเจดีย์รูปแปดเหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง ศิลปะแบบเชียงแสน



โบราณสถานภายในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย



พระที่นั่งอนันตสมาคม สถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์
มีรูปแบบเป็นสถาปัตยกรรมตะวันตก



วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม







ประติมากรรมไทย

ประติมากรรมไทย (Thai  Sculpture) 
ประติมากรรมไทย (Thai  Sculpture) หมายถึง  ผลงานศิลปะที่แสดงออกโดยกรรมวิธีการปั้น การแกะสลัก การหล่อ หรือการประกอบเข้าเป็นรูปทรง มิติ  ซึ่งมีแบบอย่างเป็นของไทยโดยเฉพาะ  วัสดุที่ใช้สร้างมักจะเป็น ดิน ปูน หิน อิฐ โลหะ ไม้ งาช้าง เขาสัตว์ กระดูก ฯลฯ  ผลงานประติมากรรมไทยมีทั้งแบบนูนต่ำ นูนสูง และลอยตัว
งานประติมากรรมนูนต่ำ และนูนสูง  มักทำเป็นลวดลายประกอบกับสถาปัตยกรรม เช่น ลวดลายปูนปั้น ลวดลายแกะสลักประดับตามอาคารบ้านเรือนโบสถ์  วิหาร พระราชวัง ฯลฯ

งานประติมากรรมแบบลอยตัว  มักทำเป็พระพุทธรูป เทวรูป รูปเคารพ ตุ๊กตา ภาชนะดินเผา  ตลอดจนเครื่องใช้ต่าง ๆ  ซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปตามสกุลช่างของแต่ละท้องถิ่นหรือแตกต่างกันไปตามคตินิยมในแต่ละยุคสมัย โดยทั่วไปมักศึกษาลักษณะของสกุลช่างที่เป็นรูปแบบของศิลปะสมัยต่าง ๆ ในประเทศไทยจากลักษณะของพระพุทธรูป  เนื่องจากเป็นงานที่มีวิวัฒนาการมาอย่างต่อเนื่องยาวนานจัดสร้างอย่างประณีตบรรจง ลักษณะของประติมากรรมของไทยในสมัยต่าง ๆ สามารถลำดับได้ดังนี้

ประวัติสถาปัตยกรรมไทย
               สถาปัตยกรรมไทย มีมานานตั้งแต่ที่คนไทยเริ่มตั้งถิ่นฐาน เป็นเวลาร่วม 4,000 ปี บรรพบุรุษไทยได้พัฒนาและปรับปรุงรูปแบบสถาปัตยกรรมอันเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิต เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ  สภาพภูมิประเทศ  โดยเพิ่มเติมใส่เอกลักษณ์ความเป็นไทยเข้าไป   ซึ่งนับเป็นการแสดงออกความสามารถของบรรพบุรุษไทย


พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร  สมัยศรีวิชัย


พระพุทธชินราช ศิลปะสมัยสุโขทัย
                       ได้รับการยกย่องว่าเป็นสุดยอดของประติมากรรมไทย



          รูปเทวดาจำหลัก ศิลปะสมัยอยุธยา (บานประตูวัดพระศรีสรรเพชญ)


พระศรีศากยทศพลญาณ ฯ พระประธานพุทธมณฑล
เป็นพระพุทธรูปปางลีลา โดยการผสมผสานความงามแบบสุโขทัย
เข้ากับความเหมือนจริง เกิดเป็นศิลปะการสร้างพระพุทธรูปในสมัยรัตนโกสินทร์


จิตรกรรมไทย

จิตรกรรมไทย (Thai Painting)
 จิตรกรรมไทย (Thai Painting) หมายถึง ภาพเขียนที่มีลักษณะเป็นแบบอย่างของไทย ที่แตกต่างจากศิลปะของชนชาติอื่นอย่างชัดเจน ถึงแม้จะมีอิทธิพลศิลปะของชาติอื่นอยู่บ้าง แต่ก็สามารถ ดัดแปลง คลี่คลาย ตัดทอน หรือเพิ่มเติมจนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของ ตนเองได้อย่างสวยงาม ลงตัว น่าภาคภูมิใจและมีวิวัฒนาการทางด้านด้านรูปแบบ และวิธีการมาตลอดจนถึงปัจจุบัน ซึ่งสามารถพัฒนาต่อไปอีกในอนาคต

ลายไทย  หมายถึง  เป็นส่วนประกอบของภาพเขียนไทยใช้ตกแต่งอาคาร สิ่งของ เครื่องใช้ เครื่องประดับ ฯลฯ  เป็นลวดลายที่มีชื่อเรียกต่าง ๆ กันซึ่งนำเอารูปร่างจาก ธรรมชาติมาประกอบ เช่น ลายกระหนก ลายกระจัง ลายประจำยาม ลายเครือเถา เป็นต้น หรือเป็นรูปที่มาจากความเชื่อและคตินิยม เช่น รูปคน รูปเทวดา รูปสัตว์ รูปยักษ์ เป็นต้น



จิตรกรรมไทย เป็นวิจิตรศิลป์อย่างหนึ่ง ซึ่งส่งผลสะท้อนให้เห็นวัฒนธรรมอันดี งามของชาติ มีคุณค่าทางศิลปะและเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าเรื่องที่เกี่ยวกับ ศาสนา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ชีวิตความเป็นอยู่ วัฒนธรรมการแต่งกาย ตลอดจนการแสดงการเล่มพื้นเมืองต่าง ๆ ของแต่ละยุคสมัยและสาระอื่น ๆ ที่ประกอบกันเป็นภาพจิตรกรรมไทย งานจิตรกรรมให้ความรู้สึกในความงามอันบริสุทธิ์น่าชื่นชม เสริมสร้างสุนทรียภาพขึ้นในจิตใจมวลมนุษยชาติได้โดยทั่วไป วิวัฒนาการของงาน จิตรกรรมไทยแบ่งออกตามลักษณะรูปแบบทางศิลปกรรม ที่ปรากฏในปัจจุบันมีอยู่ 2 แบบ คือ จิตรกรรมไทยแบบประเพณี และจิตรกรรมไทยแบบร่วมสมัย


จิตรกรรมไทยแบบประเพณี

จิตรกรรมไทยแบบประเพณี (Thai Traditional Painting)  เป็นศิลปะที่มีความประณีตสวยงามแสดงความรู้สึกชีวิติจิตใจและความเป็นไทยที่มีความอ่อนโยน   นิยมเขียนบนฝาผนังภายในอาคารที่เกี่ยวกับพุทธศาสนาและอาคารที่เกี่ยวกับบุคคลชั้นสูง เช่น โบสถ์ วิหาร พระที่นั่ง วัง  โดยเขียนด้วยสีฝุ่นตามกรรมวิธีของช่างเขียนไทยแต่โบราณ  เนื้อหาที่เขียนมักเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติ ทศชาติชาดก ไตรภูมิ วรรณคดี ชีวิตไทย และพงศาวดารต่าง ๆ  ส่วนใหญ่นิยมเขียนประดับผนังพระอุโบสถ วิหารอันเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ประกอบพิธีทางศาสนา



ลักษณะจิตรกรรมไทยแบบประเพณีเป็นศิลปะ แบบอุดมคติ (Idealistic)ผนวกเข้ากับเรื่องราวที่กึ่งลึกลับมหัศจรรย์  เป็นภาพที่ระบายสีแบนเรียบ ด้วยสีสดใส และมีการตัดเส้นเป็นภาพ 2 มิติ ให้ความรู้สึกเพียงด้านกว้างและยาว ไม่มีความลึก ไม่มีการใช้แสงและเงามาตอน ๆ ตามผนังช่องหน้าต่างรอบโบสถ์ วิหาร และผนังด้านหน้า และหลังพระประธานประกอบ  จิตรกรรมไทยแบบประเพณีมีลักษณะพิเศษในการจัดวางภาพแบบเล่าเรื่องเป็น




 รูปแบบลักษณะตัวภาพในจิตรกรรมไทย จิตรกรได้สร้างสรรค์ออกแบบไว้เป็นรูปแบบอุดมคติแสดงออกทางความคิดให้สัมพันธ์กับเนื้อเรื่องและความสำคัญของภาพ เช่น รูปเทวดา นางฟ้า กษัตริย์ นางพญา นางรำ มีลักษณะเด่นงามสง่าด้วยลีลาชดช้อย แสดงอารมณ์ความรู้สึกปีติยินดี หรือเศร้าโศกเสียใจด้วยอากัปกิริยาท่าทาง  ถ้าเป็นรูปยักษ์ มาร ก็แสดงออกด้วยท่าทางที่บึกบึน แข็งขัน ส่วนพวกวานรแสดงความลิงโลด คล่องแคล่วว่องไวด้วยลีลาท่วงท่าและหน้าตา  สำหรับพวกชาวบ้านธรรมดาสามัญก็จะเน้นความตลกขบขัน สนุกสนานร่าเริงหรือเศร้าเสียใจออกทางใบหน้า  ส่วนช้างม้าเหล่าสัตว์ทั้งหลายก็มีรูปแบบแสดงชีวิตเป็นธรรมชาติ




จิตรกรรมไทยแบบร่วมสมัย
จิตรกรรมไทยแบบร่วมสมัย (Thai Contempolary Painting) เป็นศิลปะพัฒนาไปตามสภาพแวดล้อม ความเปลี่ยนแปลงของชีวิต ความเป็นอยู่ ความรู้สึกนึกคิด และความนิยมในสังคม สะท้อนให้เห็นถึงเอกลักษณ์ใหม่ของวัฒนธรรมไทยอีกรูปแบบหนึ่งอย่างมีคุณค่าตามความนิยมของศิลปินแต่ละคน


พระเจ้าสัญชัยเดินทางไปรับพระเวชสันดรกลับเมือง 
                                                 (งานจิตรกรรมไทยแบบร่วมสมัย)



เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์. อิ่มเอิบในธรรม (Overwhelmed With Dhamma)


ชะลูด  นิ่มเสมอ. โพธิบัลลังก์ 
Tempera, acrylic and ink on sa sheet, 116 x 107 ซม.





ชะลูด  นิ่มเสมอ. ปลูก. สีฝุ่นและสีอะคริลิคบนกระดาษสา, 81x59 ซม.


ความสำคัญของจิตรกรรมไทย
จิตรกรรมไทย เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลแบบสหวิทยาการ ถือได้ว่าเป็นแหล่งขุมความรู้โดยเฉพาะเรื่องราวจากอดีตทีสำคัญยิ่ง แสดงให้เห็นถึงความเป็นชนชาติที่มีอารยธรรมอันเก่าแก่ ยาวนาน ประโยชน์ของงานจิตรกรรมไทย นอกจากจะให้ความสำคัญในเรื่องคุณค่าของงานศิลปะแล้ว ยังมีคุณค่าในด้านอื่น ๆ อีกมาก ดังนี้
1.  คุณค่าในทางประวัติศาสตร์ 
2.  คุณค่าในทางศิลปะ 
3.  คุณค่าในเรื่องการแสดงเชื้อชาติ 
4.  คุณค่าในทางสถาปัตยกรรม 
5.  คุณค่าในเชิงสังคมวิทยา 
6.  คุณค่าในด้านโบราณคดี 
7.  คุณค่าในการศึกษาประเพณีและวัฒนธรรม 
8.  คุณค่าในการศึกษาเรื่องทัศนคติค่านิยม 
9.  คุณค่าในการศึกษานิเวศวิทยา 
10.  คุณค่าในการศึกษาเรื่องราวทางพุทธศาสนา 
11.  คุณค่าในทางเศรษฐกิจการท่องเที่ยว




ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศิลปะไทย

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศิลปะไทย
ศิลปะไทย เป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย ซึ่งคนไทยทั้งชาติต่างภาคภูมิใจอย่างยิ่ง ความงดงามที่สืบทอดอันยาวนานมาตั้งแต่อดีต บ่งบอกถึงวัฒนธรรมที่เกิดขึ้น โดยมีพัฒนาการบนพื้นฐานของความเป็นไทย ลักษณะนิสัยที่อ่อนหวาน ละมุนละไม รักสวยรักงาม ที่มีมานานของสังคมไทย ทำให้ศิลปะไทยมีความประณีตอ่อนหวาน เป็นความงามอย่างวิจิตรอลังการที่ทุกคนได้เห็นต้องตื่นตา ตื่นใจ อย่างบอกไม่ถูก  ลักษณะความงามนี้จึงได้กลายเป็นความรู้สึกทางสุนทรียภาพโดยเฉพาะคนไทย

ศิลปะไทย คือ ศิลปะที่ได้รับอิทธิพลจากธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในสังคมไทย ซึ่งมีลักษณะเด่น คือ ความงามอย่างนิ่มนวลมีความละเอียดปราณีต  ซึ่งแสดงให้เห็นถึงลักษณะนิสัยและจิตใจของคนไทยที่ได้สอดแทรกไว้ในผลงานที่สร้างสรรค์ขึ้น โดยเฉพาะศิลปกรรมที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติของไทย อาจกล่าวได้ว่าศิลปะไทยสร้างขึ้นเพื่อส่งเสริมพุทธศาสนา เป็นการเชื่อมโยงและโน้มน้าวจิตใจของประชาชนให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธาในพุทธศาสนาเชื่อมโยงและโน้มน้าวจิตใจของประชาชนให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธาในพุทธศาสนา


เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์, เสด็จจากดาวดึงส์เปิดสามโลก 
(Lord Buddha Descending from Heavens)

ลักษณะของศิลปะไทย
ภาพไทย หรือ จิตรกรรมไทย จัดเป็นภาพเล่าเรื่องที่เขียนขึ้นด้วยความคิดจินตนาการของคนไทย มีลักษณะตามอุดมคติของกระบวนงานช่างไทย คือ

1. เขียนสีแบน ไม่คำนึงถึงแสงและเงา นิยมตัดเส้นให้เห็นชัดเจน และเส้นที่ใช้ จะแสดงความรู้สึกเคลื่อนไหวนุ่มนวล



2. เขียนตัวพระ-นาง เป็นแบบละคร มีลีลา ท่าทางเหมือนกัน ผิดแผกแตกต่าง กันด้วยสีร่างกายและเครื่องประดับ


          3. เขียนแบบตานกมอง หรือเป็นภาพต่ำกว่าสายตา โดยมุมมองจากที่สูงลงสู่ล่าง จะเห็นเป็นรูปเรื่องราวได้ตลอดภาพ


4. เขียนติดต่อกันเป็นตอน ๆ สามารถดูจากซ้ายไปขวาหรือล่างและบนได้ทั่วภาพ โดยขั้นตอนภาพด้วยโขดหิน ต้นไม้ กำแพงเมือง เป็นต้น

5. เขียนประดับตกแต่งด้วยลวดลายไทย มีสีทองสร้างภาพให้เด่นเกิดบรรยากาศสุขสว่างและคุณค่ามากขึ้น   

                            

นอกจากนี้  ภาพลายไทย เป็นลายที่ประดิษฐ์ขึ้น ได้รับแรงบันดาลใจมาจากธรรมชาติ  โดยดัดแปลงธรรมชาติให้เป็นลวดลายใหม่อย่างสวยงาม เช่น ตาอ้อย ก้ามปู เปลวไฟ รวงข้าว และดอกบัว